วิกฤตเศรษฐกิจ 2

วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์หรือวิกฤติสินเชื่อซับไพรม์เป็น วิกฤตเศรษฐกิจ ของสหรัฐอเมริกาที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก เริ่มจากการที่ภาวะฟองสบู่แตกในตลาดอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐอเมริกาและการผิดชำระหนี้ของสินเชื่อซับไพรม์และสินเชื่อดอกเบี้ยลอยตัวเริ่มตั้งแต่ปี 2005-2006 และปัญหาเริ่มปรากฏชัดขึ้นในช่วงปี 2007 แล้วก็เจอปัญหาอย่างหนักในช่วงปี 2008 วิกฤตนี้นับเป็นวิกฤตการเงินที่เลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1

โดยมีสาเหตุดังนี้

การใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา

ในช่วงตั้งแต่ ปี 2001 เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาอยู่ในภาวะถดถอย รัฐบาลจึงมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจโดยการลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ เพื่อให้มีการใช้จ่ายและการลงทุนเพิ่มขึ้น ผลทำให้ประชาชนบางกลุ่มกู้เงินไปเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์เพื่อเก็งกำไร เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยลดลงต่ำมาก จึงส่งผลให้ราคาอสังหาริมทรัพย์ปรับตัวสูงขึ้น ยิ่งกระตุ้นให้ประชาชนกู้เงินมาเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์เพื่อเก็งกำไรมากยิ่งขึ้น ผลทำให้ราคาอสังหาริมทรัพย์สูงมากขึ้นเกินความเป็นจริงจนในที่สุดเกิดภาวะฟองสบู่ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ และในช่วงเดียวกันนั้นเกิดวิกฤตการณ์ราคาน้ำมันสูงขึ้น เกิดภาวะเงินเฟ้อ รัฐบาลจึงแก้ปัญหาเงินเฟ้อโดยปรับอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น ส่งผลให้อุปสงค์ของอสังหาริมทรัพย์ลดลงอย่างมากและทำให้ราคาอสังหาริมทรัพย์ลดลงอย่างรวดเร็วหรือฟองสบู่แตก ผลทำให้ผู้ที่กู้เงินมาซื้ออสังหาริมทรัพย์เพื่อเก็งกำไร ไม่สามารถคืนเงินกู้ได้จึงเกิดหนี้เสียเป็นจำนวนมากและส่งผลให้สถาบันการเงินขาดสภาพคล่องซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์คุณภาพต่ำหรือเป็นสินเชื่อซับไพรม์

การบริหารจัดการสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์คุณภาพต่ำ และการเกิดหนี้สูญ ทำให้เกิด วิกฤตเศรษฐกิจ

สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์คุณภาพต่ำหรือซับไพรม์ (Subprime)เป็นสินเชื่อประเภทหนึ่งที่สถาบันการเงินปล่อยเงินกู้แก่ลูกค้าที่มีทรัพย์สินค้ำประกันมูลค่าน้อยกว่าเงินกู้หรือเป็นลูกค้าที่มีประวัติการเงินไม่ดี มีแนวโน้มผิดนัดชำระหนี้หรือมีความเสี่ยงสูง แต่สามารถคิดอัตราดอกเบี้ยได้สูงกว่าปกติ ทำให้สถาบันการเงินที่ต้องการทำกำไรมากๆปล่อยสินเชื่อประเภทซับไพรม์ ผลของนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ยิ่งทำให้ปล่อยเงินกู้ได้ง่ายขึ้น ผลปรากฎว่าสินเชื่อส่วนใหญ่เป็นประเภทซับไพรม์เป็นจำนวนมาก ดังนั้นเมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อ การใช้นโยบายเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเพื่อแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อ จึงส่งผลกระทบกับผู้ที่กู้เงินมาซื้ออสังหาริมทรัพย์เพื่อเก็งกำไรขณะที่ราคาอสังหาริมทรัพย์ลดลงเรื่อยๆทำให้ไม่สามารถชำระดอกเบี้ยและคืนเงินกู้ได้ ผลสุดท้ายทำให้เกิดหนี้เสียหรือหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ เป็นจำนวนมาก

การเก็งกำไรของกลุ่มวาณิชธนกิจหรือบรรษัทเงินทุนในสหรัฐอเมริกา ทำให้เกิด วิกฤตเศรษฐกิจ

สถาบันการเงินในสหรัฐอเมริกา นอกจากธนาคารแล้ว ยังมี บริษัทประกันชีวิตและบริษัทวาณิชธนกิจหรือบรรษัทเงินทุน เช่น บริษัทเลห์แมน บราเธอร์ส(Lehman Brothers) บริษัทเมอร์ริน ลินซ์ (Merrill Lynch) บริษัทมอร์แกน สแตนลีย์(Morgan Stanley) ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการระดมเงินทุนถือว่าเป็นบริษัทเอกชนจึงมีอิสระในการระดมเงินทุน ซึ่งจะไม่ถูกควบคุมโดยธนาคารกลาง ที่ผ่านมาจึงสามารถระดมเงินทุนและกู้ยืมเงินมาลงทุนได้ถึง20-30เท่าของหลักทรัพย์ค้ำประกันซึ่งโดยปกติธนาคารกลางของสหรัฐอเมริกาจะกำหนดไว้ไม่เกิน12 เท่าของหลักทรัพย์ค้ำประกัน เมื่อมีลูกค้ามากู้เงินและใช้อสังหาริมทรัพย์หรือตำแหน่งหน้าที่การงานเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อซับไพรม์ บริษัทวาณิชธนกิจหรือบรรษัทเงินทุนจะแสวงหากำไรหรือเก็งกำไรโดยแปลงสินทรัพย์เป็นทุน นำสินเชื่อที่ปล่อยกู้มารวมกันกับพันธบัตรประเภทต่างๆแล้วเปลี่ยนสินเชื่อออกมาอยู่ในรูปตราสารทางการเงินที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน หรือเรียกว่า ซีดีโอ(Collateralized Debt Obligations:CDO)โดยจะแบ่งเป็นกองทุน แต่ละกองทุนจะมีผลตอบแทนและความเสี่ยงแตกต่างกันไปและเพื่อลดความเสี่ยงหรือเป็นการกระจายความเสี่ยงจะนำ ซีดีโอไปประกันความเสี่ยงกับบริษัทประกันต่างๆและกระจายออกมาในรูปของตราสารอนุพันธ์ซีดีเอส(Credit Default Swaps:CDS) และนำออกมาขายให้กับบริษัทที่สนใจร่วมลงทุนในความเสี่ยง โดยจะมีบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือเช่น Standard and Poor’s(S&P) ถ้าตราสารอนุพันธ์ใดมีความเสี่ยงมากลูกค้าที่ซื้อไปจะได้ผลตอบแทนสูง ดังนั้นตราสารอนุพันธ์ซีดีเอส จะถูกกระจายไปในระบบเศรษฐกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ ยุโรป เอเชียและออสเตรเลียเข้ามาซื้อขายตราสารอนุพันธ์ซีดีเอสผ่านสถาบันการเงินของสหรัฐอเมริกา เป็นที่นิยมกันมาก ในปี 2007มูลค่าตราสารอนุพันธ์ซีดีเอสมีประมาณ62 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯซึ่งมีมูลค่ามากกว่าพันธบัตรรัฐบาลของสหรัฐฯ ถึง12 เท่า ดังนั้นการแปลงสินเชื่อเป็นสินทรัพย์โดยรวมเอาสินเชื่อประเภทซับไพรม์และสินเชื่อจำนองอื่นๆเข้าด้วยกันเพื่อใช้เป็นหลักประกันในการสร้างเครื่องมือทางการเงินออกมาเป็นตราสารประเภทต่างๆจากการเก็งกำไรแสวงหาประโยชน์ของกลุ่มวาณิชธนกิจหรือบรรษัทเงินทุน จึงเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจขึ้น เมื่อลูกหนี้ไม่สามารถชำระคืนเงินกู้ได้และกลายเป็นหนี้สูญ

วิกฤตเศรษฐกิจ 1

ผลกระทบของ วิกฤตเศรษฐกิจ

  1. ภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก

การเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกามิได้มีผลกระทบกับประเทศสหรัฐอเมริกาเพียงประเทศเดียวแต่จะส่งผลกระทบเชื่อมโยงไปทั่วโลกเนื่องจากสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศมหาอำนาจและเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญทั้งทางด้านการค้า การลงทุนและการเงินข้ามชาติ ผลกระทบครั้งนี้ทำให้อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลกลดลง โดยเฉพาะในปี 2009 เป็นปีที่ได้รับผลกระทบรุนแรงผลผลิตมวลรวมประชาชาติของสหรัฐอเมริกา กลุ่มสหภาพยุโรปและเอเชียลดลง เนื่องจากเมื่อเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาตกต่ำจะทำให้การบริโภค การลงทุนลดลง ส่งผลให้ประเทศอื่นๆที่เกี่ยวข้องมีอุปสงค์รวมลดลงด้วยจึงทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศอื่นๆลดลงเช่นกัน ตัวอย่างการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้มีผลกระทบทำให้อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ของสหรัฐอเมริกา เช่นอุตสาหกรรมรถยนต์ต้องประสบปัญหาขาดทุนอย่างมากเนื่องจากยอดขายลดลงอย่างสูงซึ่งอุตสาหกรรมต้องจ้างแรงงานโดยตรงประมาณ 5 ล้านคนซึ่งรัฐจำเป็นต้องเข้าไปช่วยเหลือให้เงินกู้ ซึ่งปัญหาอุตสาหกรรมรถยนต์ของสหรัฐอเมริกาจะมีผลกระทบกับอุตสาหกรรมอื่นๆที่เกี่ยวข้องในต่างประเทศด้วย เช่นอุตสาหกรรมเหล็กกล้า ชิ้นส่วนรถยนต์ เคมีภัณฑ์ มีผลทำให้บริษัทในยุโรปต้องปิดกิจการตามไปด้วย

  1. การค้าระหว่างประเทศลดลงทั่วโลก

เมื่อเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาถดถอย อำนาจซื้อของประชาชนลดลงเป็นหนี้สินทำให้การบริโภคลดลง ดังนั้นทำให้ความต้องการนำเข้าสินค้าของสหรัฐอเมริกาลดลงส่งผลกระทบต่อการส่งออกของประเทศต่างๆไปยังตลาดสหรัฐอเมริกาซึ่งสหรัฐอเมริกาเป็นคู้ค้าที่สำคัญของหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทย ซึ่งประเทศใดจะได้รับผลกระทบมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับว่า ประเทศนั้นๆ พึ่งพาการส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกามากน้อยเพียงใด สำหรับประเทศในเอเชียส่วนใหญ่ เช่น ญี่ปุ่น จีน มาเลเซีย สิงค์โปร์ และไทย พึ่งพาการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกาเป็นส่วนใหญ่จึงได้รับผลกระทบเช่นกัน

  1. สถาบันการเงินทั่วโลกสั่นคลอน

การเกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินครั้งนี้ทำให้บริษัทวาณิชธนกิจหรือบรรษัทเงินทุนขนาดใหญ่ของสหรัฐอเมริกาและประเทศในยุโรปต้องขาดทุน และล้มละลาย เช่น กลุ่มบริษัทเลห์แมน บราเธอร์ส ซึ่งใหญ่เป็นอันดับสี่ของสหรัฐอเมริกา มีอายุเก่าแก่ถึง 158 ปี เป็นเจ้าของธนาคารและสถาบันการเงินประเภทต่างๆที่เป็นนายหน้ารายหลักของการซื้อขายพันธบัตรรัฐบาลอเมริกัน (Primary Dealer in the US Treasury Securities Market) บริษัทมีการลงทุนทั่วโลกทั้งในตลาดเงินและตลาดทุนและยังเป็นนายหน้ารายใหญ่ในตลาดอนุพันธ์ (Future Markets) ในตลาดการเงินต่างๆ ทั่วโลกรวมทั้งมีบริษัทบัตรเครดิต American Express ซึ่งมีสาขาทั่วโลกทั้งที่ลอนดอน โตเกียว กลุ่มบริษัทเลห์แมนบราเธอร์ส มีขนาดทางธุรกิจในตลาดหลักทรัพย์ (Market Cap) ประมาณ 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2007และมีประมาณการรายได้สุทธิของปี 2007 อยู่ที่ 6.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ สินทรัพย์ของบริษัท ณ สิ้นปี 2007 อยู่ที่ 691 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ มีพนักงานทั่วโลกมากกว่า 26,000 คน และเคยผ่านวิกฤตการณ์ต่างๆ มาได้ตลอดทั้ง 150 กว่าปีของการดำเนินงานที่ผ่านมา แต่ต้องมาล้มละลายลงเนื่องจากบริษัทในเครือ BNC Mortgage ปล่อยกู้ให้กับลูกค้าสินเชื่อซับไพรม์และเกิดปัญหาหนี้เสียมหาศาลจนต้องปิดกิจการ ทำให้บริษัทขาดทุนประมาณ 25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้บริษัทขาดความเชื่อมั่นและเกิดความเสียหายลุกลามต่อเนื่องไปจนถึงบริษัทแม่ ทำให้ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2008 กลุ่มบริษัท เลห์แมน บราเธอร์สมียอดขาดทุนถึง 2.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และทำให้บริษัทต้องขายสินทรัพย์ออกไปถึง 6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หุ้นของบริษัทมีมูลค่าลดลงถึงร้อยละ 73 และมีแนวโน้มจะลดลงต่อไปเรื่อยๆและในที่สุดบริษัทต้องขอความคุ้มครองตามมาตรา 11 ของกฎหมายการเงินสหรัฐอเมริกา ที่อนุญาตให้บริษัทที่มีปัญหาทางการเงิน ประกาศขอล้มละลาย และส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังสถาบันการเงินใหญ่ของสหรัฐอเมริกา อีก 2 แห่ง ได้แก่ Merrill Lynch และ American International Group (AIG) และต่อเนื่องเป็นลูกโซ่กระทบถึงสถาบันการเงินทั่วโลกที่เกี่ยวข้องกัน เนื่องจากการปล่อยสินเชื่อซับไพรม์มากเกินไปจนเกิดหนี้สูญจำนวนมหาศาล รวมทั้งสถาบันการเงินอื่นๆในต่างประเทศที่ร่วมลงทุนในตราสารอนุพันธ์ซีดีเอส ส่งผลทำให้สถาบันการเงินของโลกต้อง ได้รับผลกระทบประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง ขาดความมั่นคงและต้องปิดกิจการ ทางภาครัฐบาลร่วมกับธนาคารกลางจึงจำเป็นต้องนำเงินงบประมาณเข้าไปช่วยเหลือเฉพาะสถาบันการเงินของรัฐที่ทำหน้าที่ให้สินเชื่อด้านอสังหาริมทรัพย์ เช่น Fannie Mae and Freddie Mac บริษัทประกัน American International Group (AIG) มูลค่าการช่วยเหลือสถาบันการเงินในเบื้องต้นประมาณ 11 ล้านล้านบาท ซึ่งมีขนาดมากกว่า GDP ของประเทศไทย ทั้งนี้ไม่สามารถช่วยสถาบันการเงินได้ทั้งหมด

  1. ตลาดหุ้นทั่วโลกตกลงอย่างรุนแรง

การเกิดวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้ส่วนหนึ่งเกิดจากสินเชื่อซับไพรม์ทำให้สถาบันการเงินขาดความมั่นคงและขาดความเชื่อถือ ผลทำให้ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ลดลงต่ำสุดเป็นประวัติการณ์และย่อมมีผลกระทบทำให้ตลาดหุ้นที่สำคัญทั้งในยุโรปและเอเซียลดลงอย่างรุนแรง

แนวทางในการแก้ไขปัญหา

ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา (FED) ใช้นโยบายการเงิน (Monetary Policy) ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Fed Funds rate) อย่างรวดเร็ว เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ จนอัตราดอกเบี้ยลดลงเข้าใกล้ร้อยละ 0 (0.25%) แต่ก็ไม่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้จึงต้องใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเชิงปริมาณ มาตรการ Unconventional monetary policy หรือเรียกว่า Quantitative Easing(QE) โดยธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาทำการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบการเงินเพื่อรักษาความเชื่อมั่นและสร้างสภาพคล่องเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้ดำเนินต่อไปได้ในภาวะไม่ปกติได้แก่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ทั้งนี้ในการใช้มาตรการ QE ครั้งแรกหรือ QE1 ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2008 – เดือนมีนาคม 2010 ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาล และเข้าซื้อตราสารหนี้ที่หนุนหลังโดยสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ (Mortgage backed securities :MBS) จากสถาบันการเงิน ผ่านโครงการ Term Asset-Backed Securities Loan Facilities: TALF) เพื่อให้สถาบันการเงินที่มีปัญหามีสภาพคล่องสามารถปล่อยเงินกู้ได้และให้เงินกู้ระยะสั้นแก่สถาบันการเงินผ่านTerm Auction facilities ผลจาก QE1 ช่วยให้ตลาดการเงินทำงานเป็นปกติมากขึ้นในระดับหนึ่ง แต่อัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่องจึงนำมาตรการQEมาใช้อีกเป็นครั้งที่ 2 หรือ QE2 ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2010 – เดือนมิถุนายน 2011โดยดำเนินนโยบายรักษาอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับต่ำเพื่อกระตุ้นการลงทุน การบริโภคและธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาทยอยซื้อพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวและตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่ได้รับค้ำประกันโดยหน่วยงานของรัฐ (Agency Mortgaged – back securities) ที่ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาถืออยู่โดยจะทยอยซื้อในแต่ละเดือน (เดือนละ35,000ล้านดอลลาร์) เป้าหมายของQE2เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เพิ่มสภาพคล่อง ต่างจาก QE1 เพื่อสร้างความเชื่อมั่น ลดการผันผวนในตลาดการเงินซึ่งผลของQE2 สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้ระดับหนึ่งเท่านั้น จึงนำมาตรการQEมาใช้อีกเป็นครั้งที่ 3 หรือ QE3 เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2012 โดยครั้งนี้ไม่กำหนดช่วงเวลาโดยจะทยอยซื้อพันธบัตรรัฐบาลและตราสารหนี้ในแต่ละเดือนจนกว่าอัตราการว่างงานจะลดลงเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้กลับคืนมาอย่างต่อเนื่อง

การเข้าช่วยเหลือสถาบันการเงินในการขยายการปล่อยกู้ ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา แทบจะแปลงสภาพเป็นธนาคารพาณิชย์ผู้ให้กู้โดยตรง ทั้งนี้เนื่องจากวงเงินเครดิตที่ผ่านมาได้กู้กันเต็มที่ และเต็มวงเงินแล้ว และยังไม่สามารถใช้หนี้ได้ จึงต้องขยายการปล่อยกู้ต่อไปเพื่อให้สถาบันเหล่านั้นอยู่ต่อได้และการปรับปรุงระบบการเงินของประเทศสหรัฐอเมริกา ระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆ เช่น เงินลงทุน การปล่อยเงินกู้ และอัตราดอกเบี้ย ให้มีความเสี่ยงที่น้อยลง เนื่องจากที่ผ่านมาการปล่อยกู้เป็นไปได้ง่ายเกินไปจนทำให้เกิดปัญหาขาดสภาพคล่อง

การกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยใช้นโยบายการคลัง ภาครัฐมีนโยบายใช้จ่ายเพิ่มขึ้นทางด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ช่วยเหลือการว่างงานและการลดภาษี เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายของภาคเอกชนให้มีการบริโภค การลงทุนและการจ้างงาน และ การฟื้นฟูสถาบันการเงิน ช่วยเหลือบริษัทอุตสาหกรรมที่ประสบปัญหา การจัดตั้งองค์กรเพื่อทำหน้าที่ซื้อหนี้เสียจาก สถาบันการเงิน แต่ทั้งนี้สหรัฐอเมริกากำลังจะประสบปัญหาหน้าผาทางการคลัง (Fiscal Cliff) เนื่องจากมาตรการด้านการคลังชั่วคราวในการกระตุ้นเศรษฐกิจกำลังจะสิ้นสุดและรัฐมีหนี้สาธารณะในสัดส่วนที่สูงและขาดดุลงบประมาณสูงมาก ในปี2011ขาดดุลงบประมาณ สัดส่วนร้อยละ9.5ของGDP ทำให้รัฐต้องตัดงบประมาณแบบอัตโนมัติ (Sequestration) โดยรัฐจะต้องตัดงบประมาณรายจ่ายลง100พันล้านดอลลาร์ต่อปีเป็นเวลา 10ปีโดยเริ่มตัดลดงบประมาณรายจ่ายของรัฐตั้งแต่ต้นปี 2013 ดังนั้นในการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยใช้นโยบายการคลังคงจะทำได้ยาก


บทความที่เกี่ยวข้อง
ส่องแนวโน้ม และความท้าทาย “ตลาดแรงงานไทย”
Go For Western Economy With These Pioneering
Cargo industry welcome foreign investment
Working Together to Make Investments
ติดตามบทความอื่นๆได้ที่ https://www.irish9ball.com/

สนับสนุนโดย  ufabet369

ที่มา www.stou.ac.th