เด็กต้องนอนอย่างน้อยกี่ชั่วโมง

ความสำคัญของอาการลูกนอนหลับไม่สนิท จำเป็นต้องใส่ใจเพราะโดยปกติแล้วเด็กหรือทารกก็ต้องการการพักผ่อนที่เพียงพอเช่นเดียวกันกับผู้ใหญ่ และรูปแบบการนอนจะต่างกัน เด็กแต่ละคนต้องการนอนเฉลี่ยแล้วจะมีเวลานานถึง 16 ชั่วโมง/วัน แบ่งเป็นช่วงกลางวัน 8 ชั่วโมงและช่วงเวลากลางคืนอีก 8 ชั่วโมง และมักจะตื่นขึ้นมาดื่มนมตลอด 3-4 ชั่วโมงต่อวัน แต่เมื่อลูกอายุได้ 3 เดือนขึ้นไป จากนั้นทารกจะสามารถนอนหลับกลางคืนได้นานยิ่งขึ้น แต่ละช่วงวัยจะมีชั่วโมงนอนที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้

  • เด็กแรกเกิด เด็กในช่วงวัยนี้จะเน้นนอนหลับมากกว่าตื่น และไม่รับรู้ถึงช่วงกลางวันหรือกลางคืน ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรให้ทารกนอน 14-17 ชั่วโมง/วัน โดยจะให้นอนในตอนกลางคืน 8-12 ชั่วโมง และในตอนกลางวัน 2-5 ชั่วโมง ทั้งนี้ควรให้ทารกตื่นขึ้นมาเพื่อดื่มนม และรับสารอาหารที่ควรจะได้รับ
  • เดือน  6 เดือน ในช่วงนี้เด็กจะอยากอาหารในช่วงกลางคืนน้อยลงและนอนได้ยาวนานขึ้น โดยจะนอนหลับ ระหว่าง 12 – 14 ชั่วโมง ทั้งกลางวันและกลางคืน
  • เดือน  12 เดือน เมื่ออายุได้ 6 เดือนขึ้นไป จะเลิกตื่นมากินนมในตอนกลางคืน และนอนหลับยาวตลอดทั้งคืนถึง 12 ชั่วโมง ทั้งนี้ในระหว่างวันจะหลับไม่เกิน 2 ชั่วโมง
  • 12 เดือนขึ้นไป ลูกน้อยจะนอนหลับรวม 12-15 ชั่วโมง/วัน แบ่งเป็นตอนกลางคืน 10 – 12 ชั่วโมง ส่วนตอนกลางวันจะแบ่งเป็น 2 ครั้ง ครั้งละ 1-2 ชั่วโมง แต่ช่วงเวลาเหล่านี้ก็ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของลูกน้อยของแต่ละบ้าน

สาเหตุที่ลูกนอนหลับไม่สนิท

สาเหตุที่ลูกนอนหลับไม่สนิทตอนกลางคืน มีได้หลายสาเหตุโดยแบ่งดังนี้

  • ลูกนอนหลับไม่สนิทเพราะ สภาพแวดล้อม มีส่วนสำคัญเป็นอย่างมาก หากสภาพแวดล้อมมีเสียงที่ดังเกินไป จนรบกวนการนอนของเด็กหรือแม้แต่การเคลื่อนไหวของคุณพ่อคุณแม่ ก็มีส่วนทำให้หลับไม่สนิท ละเมอ หรือร้องไห้ระหว่างนอน
  • ลูกนอนหลับไม่สนิทเพราะ การนอนกลางวันมากเกินไป หากคุณพ่อคุณแม่ให้ลูกนอนกลางวันมากเกินไป เมื่อถึงเวลานอนก็จะทำให้ม่ง่วงนอน และนอนหลับไม่สนิทในช่วงเวลากลางคืน
  • ลูกนอนหลับไม่สนิทเพราะ นอนไม่สบายตัว ซึ่งอาจเกิดจากอากาศถ่ายเทไม่สะดวก มีอากาศที่ร้อนหรือหนาวเกินไป ใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูปนานเกินไป หรือที่นอนมีแมลงกัดต่อย เลยเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่นอนหลับไม่สนิท กระสับกระส่าย ไม่สบายตัว
  • ลูกนอนหลับไม่สนิทเพราะ อาการไม่สบายท้อง เช่น มีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ เนื่องจากคุณพ่อคุณแม่อาจจะอุ้มเรอไม่ถูกต้องหรือให้ลูกนอนเร็วเกินไปหลังกินนม จึงทำให้มีแก๊สเกินในกระเพาะอาหารของลูกซึ่งทำให้ไม่สบายท้อง ร้องงอแงและอาจแหวะนมหรืออาเจียนขณะกำลังนอนได้
  • ลูกนอนหลับไม่สนิทเพราะ อาการเจ็บป่วยอื่นๆ คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตได้จากการที่ลูกมีไข้ กินอาหารได้น้อย ซึ่งทำให้ร้องไห้เป็นเวลานาน และนอนละเมอ ร้องไห้
  • ลูกนอนหลับไม่สนิทเพราะ กำลังอยู่ในช่วงปรับตัว เนื่องจากเด็กเพิ่งได้ใช้ชีวิตในโลก การปรับตัวเพื่อให้เข้ากับสภาพแวดล้อมก็เป็นสิ่งที่อาจจะยังไม่คุ้นเคย จึงไม่แปลกที่จะยังไม่รู้เวลาการนอนหลับ และทำให้การนอนหลับยังไม่คงที่ จึงอาจทำให้นอนหลับไม่สนิท หรือตื่นมากลางดึก

ลูกนอนหลับไม่สนิท

อาการของลูกนอนหลับไม่สนิท

คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตอาการได้จากพฤติกรรม ดังต่อไปนี้

  • ลุกมักจะตื่นหลายๆ ครั้ง โดยเฉพาะช่วงเวลากลางคืน
  • ขณะที่กำลังหลับนอน มักจะพลิกตัวไปมามากเกินไป
  • ร้องไห้งอแง
  • ขยี้ตาและหาวบ่อย
  • ไม่ยอมนอนถึงแม้ว่าคุณพ่อคุณแม่จะกล่อมให้นอนก็ตาม

และคุณพ่อคุณแม่ควรที่จะสังเกตว่าที่ลูกนอนหลับไม่สนิทขณะนอนหลับ มีเสียงหายใจที่ดังเกินไปหรือหายใจลำบาก นั่นอาจจะเป็นสัญญาณเตือนว่าลูกอาจจะมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ หรือมีอาการ แขนขากระตุก โยกศีรษะไปมา ก็ควรที่จะพาลูกไปหาคุณหมอในทันที

1. ลูกนอนหลับไม่สนิท นอนกระสับกระส่าย

สาเหตุที่ลูกนอนหลับไม่สนิทมักจะนอนดิ้นไปมา หรือนอนกระสับกระส่ายไม่สบายตัว ตลอดการนอน สาเหตุหลักๆ มีด้วยกันทั้งหมด 2 ประเภท ได้แก่

  1. REM (Rapid Eye Movement Sleep) หรือ “การเคลื่อนไหวดวงตาอย่างรวดเร็ว” ขณะที่ลูกกำลังงีบและฝัน สมองจะสร้างความทรงจำและพัฒนาทักษะการเรียนรู้ จึงทำให้ดวงตาจะขยับไปมาอย่างรวดเร็ว ถึงแม้ว่าเด็กๆ จะพักผ่อนประมาณ 16 ชั่วโมงต่อวัน แต่ครึ่งหนึ่งขณะหลับจะอยู่ในสถานการณ์ REM และมักจะเกิดขึ้นกับเด็กที่คลอดก่อนกำหนด หากเมื่อลูกเริ่มโตขึ้นอาการ REM จะค่อยๆ ลดลง
  2. NREM (Non- Rapid Eye Movement Sleep) การนอนแบบช้าๆ ไม่รวดเร็ว โดยขั้นตอนนี้ แบ่งออกได้เป็น 3 ขั้นตอน ได้แต่
  • ขั้นตอนที่ 1 มีอาการง่วงซึม ดวงตาค่อยๆ หย่อนคล้อยและเคลิ้มหลับ
  • ขั้นตอนที่ 2 หลับไม่สนิท เริ่มเคลื่อนไหวและอาจจะสะดุ้ง ตกใจง่ายขณะกำลังนอนหลับ
  • ขั้นตอนที่ 3 หลับลึก ไม่ส่งเสียงและไม่มีการเคลื่อนไหว

โดยเด็กจะเข้าสู่ขั้นตอนที่ 1 ในช่วงเริ่มต้นการนอนหลับ แล้วจึงเข้าสู่ขั้นตอนที่ 2 และ 3 แล้วกลับไปขั้นตอนที่ 2 อีกครั้ง กระบวนการนี้จะเกิดขึ้นซ้ำหลายรอบตลอดทั้งคืน จากนั้นจะกลับเข้าสู่ REM จึงทำให้เกิดอาการนอนดิ้น กระสับกระส่ายนั่นเอง

2. อาการลูกนอนหลับไม่สนิท บิดตัวไปมา

สาเหตุที่ลูกนอนหลับไม่สนิทลูกนอนหลับไม่สนิทงแอะๆ บ่อย

  • บิดตัวไปมา
  • มีเสียงครืดคราดในลำคอ
  • มีอาการอาเจียน แหวะนมออกมาทางปากหรือจมูก
  • พุงยื่นกาง ออกเป็นรูปทรงน้ำเต้า

อาการดังกล่าวจะทำให้ลูกนอนหลับไม่สนิท วิธีแก้คือ ให้รับประทานในปริมาณที่พอดี หากให้ทานนมก็ควรที่จะอุ้มให้เรอ หรือจับตัวตั้ง ก่อนที่จะกล่อมให้นอนหลับ ซึ่งวิธีสังเกตว่าลูกทานในปริมาณที่พอดีหรือไม่ ให้สังเกตจากการที่อุจจาระ 2-3 ครั้ง หรือปัสสาวะ 6-8 ครั้งต่อวัน แต่หากว่ายังไม่หาย คุณแม่ก็ควรให้ทานนมจากเต้า โดยคุณแม่ต้องปั๊มนมออกก่อนบางส่วน เพื่อให้น้ำนมในเต้าน้อยลง

3. ลูกนอนหลับไม่สนิท นอนละเมอ ร้องไห้

หากการนอนของลูกมีอาการนอนละเมอ นอนร้องไห้ ถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่ร้ายแรง เพราะเมื่อเด็กมีอายุที่มากขึ้นภาวะนี้ก็จะหายไปเอง วิธีดูแลคุณแม่อาจจะอุ้มลูกและค่อยๆ ปลอบจนกว่าสบงลง แล้วจึงค่อยๆ วางลงกับเบาะหรือเปลกล่อมให้นอนหลับอีกครั้ง  แต่หากพบว่ามีอาการบ่อยครั้ง คุณพ่อคุณแม่ก็ควรที่จะให้ความสำคัญและใส่ใจกับอาการของลูก หรือเข้าปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพราะหากพบว่ามีอาการที่รุนแรงหรือเสี่ยงอันตราย ก็จะได้รับมือได้ทันและแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว เพื่อการนอนของลูกที่ดีขึ้น

ลูกนอนหลับไม่สนิทแก้ไขอย่างไรเพื่อคุณภาพการนอนที่ดี

เพื่อการที่ลูกจะนอนหลับได้อย่างเต็มอิ่มและมีประสิทธิภาพ หากคุณพ่อคุณแม่ทำตามวิธีแก้ลูกนอนดิ้น เหล่านี้จะช่วยให้นอนหลับสนิทมากยิ่งขึ้น

  • ทำกิจวัตรก่อนอนอย่างสม่ำเสมอ ลองทำกิจกรรมที่จะทำให้นอนหลับสบายอย่างการอาบน้ำ เพื่อที่จะได้รู้สึกสบายตัว เปิดพลงกล่อมเด็กเบาๆ ระหว่างที่กำลังพาลูกเข้านอน สามารถแก้ปัญหาลูกนอนหลับไม่สนิทได้
  • พาเข้านอนขณะที่ยังตื่นอยู่ สิ่งนี้จะช่วยให้ลูกเข้าใจว่าถึงช่วงเวลานอนแล้ว โดยอุ้มแล้วเดินช้าๆ คุณแม่อาจจะตบหลังเบาๆ แล้ววางให้นอนลงบนเบาะหรือเปล หาอุปกรณ์ ของเล่น ผ้าห่ม และหมอนข้างนุ่มๆ วางไว้บริเวณรอบตัวของลก เพื่อให้รู้สึกปลอดภัย ลดความหวาดกลัว และควรวางให้พ้นจากใบหน้าเด็ก เพราะอาจจะทำให้หายใจไม่ออก
  • ให้เวลาได้ปรับตัว ลูกอาจจะร้องไห้ งอแง คุณพ่อคุณแม่ก็อย่าเพิ่งหงุดหงิดไปให้เขาได้ปรับตัวหาท่าทางที่สบายตัวสักหน่อยแล้วเดี๋ยวก็หลับไป แต่หากยังร้องไห้ไม่หยุด ก็ลองตรวจเช็คอาการของลูก หรือบริเวณที่ลูกน้อยนอนหลับว่ามีแมลงหรือสิ่งใดรบกวนลูกน้อยอยู่ไหม หากไม่พบสิ่งใดรบกวน แล้วพูดปลอบโยนช้าๆ จึงค่อยเดินออกจากห้องไป
  • ลองใช้จุกหลอก หากว่ามีปัญหาในการนอน คุณแม่อาจจะใช้จุกหลอกซึ่งเปนตัวช่วยที่ดีในการทำให้นอนหลับ และงานวิจัยยังเผยอีกว่ากว่าใช้จุกหลอกจะช่วยลดความเสี่ยง SIDS หรือโรคไหลตายในเด็กได้อีกด้วย
  • สร้างบรรยากาศ ให้ลูกเรียนรู้ถึงช่วงเวลากลางวันและกลางคืน โดยในช่วงเวลากลางวันคุณแม่อาจจะเล่นกับลูก ทำพื้นที่ให้สว่าง และกำหนดเวลานอนที่ไม่นานจนเกินไป ส่วนในช่วงเวลากลางคืน คุณพ่อคุณแม่ควรกล่อมให้เข้านอน หรี่ไฟ และไม่ส่งเสียงดังรบกวนการนอน เพื่อเป็นการให้ลูกจดจำเวลานอน และลดปัญหาลูกนอนหลับไม่สนิทได้
  • เคารพในความชอบของลูก บางคนอาจจะชอบนอนดึกหรือชอบตื่นเช้า คุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ควรที่จะบังคับให้ลูกนอนตามเวลาเป๊ะๆ ควรที่จะหยืดหยุ่นให้เป็นไปตามธรรมชาตินั่นเอง

 

การนอนมีความสำคัญต่อลูกน้อยเป็นอย่างมาก การนอนหลับที่มีคุณภาพอย่างเพียงพอต่อความต้องการ ตามระยะเวลาที่ลูกน้อยควรจะได้รับ ไม่นานเกินไป ไม่น้อยเกินไป หากลูกนอนหลับไม่สนิทเป็นสิ่งที่คุณพ่อและคุณแม่ต้องช่วยกันสังเกต จัดสรรเวลา และสร้างวินัยในการนอนให้ลูกน้อย เพื่อการมีพัฒนาการที่แข็งแรงสมบูรณ์ พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ในวันรุ่งขึ้น มาช่วยกันฝึกฝนลูกน้อยเสียแต่ยังเล็ก เพื่อผลดีในระยะยาวของลูก

 

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับเด็ก

ที่มาของบทความ

 

ติดตามอ่านเรื่องเกี่ยวกับเด็กได้ที่  irish9ball.com

สนับสนุนโดย  ufabet369